6 วิธีฝึกฝนเพื่อให้เขียนบล็อกได้อย่างลื่นไหล

การเขียนไม่ว่าจะเขียน เรื่องสั้น นิยาย หรือเขียนบล็อกนั้น การที่จะเขียนตาม Topic หรือ Keyword เพียงอย่างเดียว ข้อเขียนนั้นก็จะขาดความสละสลวยทางด้านภาษา ด้อยทางด้านอรรถรสลงไป  

ถึงแม้ว่าเราจะมีแรงบันดาลใจสุดยอด หรือไอเดียที่บรรเจิดขนาดไหน หากคำในประโยคฟังไม่เขาหู เหมือนคนพูดตะกุกตะกัก ก็จะทำให้เนื้อหาโดยรวมขาดความสมบูรณ์  ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาลองดูวิธีที่ช่วยให้งานเขียนทุกท่านมีความไหลลื่น น่าอ่านมากยิ่งขึ้น

อ่านให้เยอะ


ไม่ใช่ว่าการดูหนังหรือว่าการทำกิจกรรมอย่างอื่นจะไม่ได้ให้ประสบการณ์ใด ๆ  แต่การอ่านนั้นเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของการเขียน นักอ่านอาจไม่ใช่นักเขียนที่ดีทุกคน แต่นักเขียนทุกคนต้องเป็นนักอ่านที่ดี  อ่านให้หลากหลายแนวเพื่อจะได้มีวัตถุดิบอย่างเหลือเฟือ หากอ่านเอาเนื้อหาจนชำนาญ ก็สามารถอ่านแบบวิเคราะห์ได้ในไม่ช้า การมีวัตถุดิบที่เยอะและหลากหลายกว่าคนอื่นทำให้ท่านได้เปรียบ  ในการสร้างแรงบันดาลใจหรือหาไอเดียความคิดใหม่ ๆ


เขียนให้บ่อย


ทักษะเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝน การเขียนก็เช่นกัน คนเขียนเก่งไม่ได้มีพรสวรรค์สูงส่งมาแต่เกิด เพียงแต่เขาฝึกเขียนบ่อยกว่าคนอื่นก็เท่านั้น  ท่านสามารถฝึกเขียนได้บ่อยๆด้วยการเขียนไดอารี่ หรือจะเขียนอะไรก็ได้ตามแบบการเขียน Morning Pages เพื่อเป็นการสร้างความเคยชินต่อการเขียนอย่างไหลลื่น 


จังหวะในการเขียน


ความต่อเนื่องของงานเป็นสิ่งสำคัญ จริงอยู่ว่าคนเรามักมีธุระปะปังในชีวิตประจำวันเข้ามาแทรกได้เสมอ  แต่ถ้าไม่ใช่อะไรที่คอขาดบาดตายก็ขอให้ท่านใช้วิธีจดโน๊ตเอาไว้ก่อน การเตรียมสมุดเล่มเล็ก ๆ จะช่วยให้ท่านจดธุระที่จะมาขัดจังหวะการเขียนที่ไหลลื่นของท่านได้  วิธีนี้มีประสิทธิภาพมากด้วยในกรณีที่ท่านมีไอเดียใหม่ ๆ ผุดขึ้นมาระหว่างเขียน และเมื่อท่านได้จดสิ่งกวนใจไว้แล้วท่านก็จะไม่สับสนในกระบวนการทำงาน


ลงมือทำ


การคิดการวางแผนที่ดีจะไม่เกิดผลหากท่านยังไม่ลงมือทำ  การพูดนั้นง่ายกว่ามากเพราะการลงมือทำนั้นอาจต้องอาศัยความขยันและแรงบันดาลใจพอสมควร  วิธีง่ายๆเลยก็คือ… หากท่านเป็นมือใหม่หรือยังไม่ชำนาญเขียนบล็อก หรือเขียนหนังสือเล่มยาว ๆ  ก็ขอให้ท่านทำเป็นเรื่องสนุกก่อน ยังไม่ต้องวางแผนมากมาย อย่างเช่น ตั้งใจไว้เลยว่าวันนี้จะเขียนบล็อก 5 บรรทัด  ทำอย่างนี้จนเป็นเรื่องง่ายเหมือนอาบน้ำแปรงฟัน แล้วเมื่อนั้นท่านจึงค่อยเพิ่มปริมาณตามความเหมาะสม


เลียนแบบ


คำว่าลอกเลียนเป็นคำที่สื่อออกไปในทางลบ  ดังนั้นเราควรมีคำขยายเพื่อเพิ่มความหมายให้ถูกต้อง  การเลียนแบบเพื่อสร้างสรรค์เป็นปกติของทุกสาขาอาชีพ  ไม่ว่าจะเลียนแบบวิธีการ, โครงสร้าง ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ต่างกันตรงที่การเลียนแบบอย่างสร้างสรรค์นั้นก่อให้เกิดนวตกรรม หรืองานเขียนที่ดีกว่า หรือทันสมัยกว่าสิ่งที่เป็นต้นแบบ  อย่างไรก็ดีมนุษย์เราก็มีการเลียนแบบตามธรรมชาติอยู่แล้ว เพียงแต่บางครั้งจะมีผลเสียหากเรานึกถึงแต่ด้านผลประโยชน์


ปรับปรุง


บางทีการ Revise นั้นอาจสำคัญกว่าการเขียนด้วยซ้ำ  เมื่อเริ่มเขียนโพสต์สิ่งที่มือใหม่รวมทั้งตัวผมช่วงแรกๆเป็นก็คือ… มักจะชอบแก้ไขไปด้วย  การเขียนอักขระผิดนั้นสามารถแก้ไขได้ทันที แต่หากเป็นในเรื่องของเนื้อหานั้นท่านควรจะทำเครื่องหมายไว้ก่อน  ถ้าเป็นไปได้ท่านควรจะเขียนให้จบในหัวข้อนั้น ๆ ก่อนที่จะวางปากกาไปทำเรื่องอื่น ๆ การเขียนอย่างมีสมาธิต่อเนื่องทำให้งานเขียนลื่นไหลกว่า การ Revise ก็จะน้อยลงตามไปด้วย


การหาจุดร่วม


เมื่อนึกอะไรไม่ออกหรือตีบตัน ที่เป็นปกติของผู้ทำงานศิลปะสร้างสรรค์ต่าง ๆ  งานเขียนก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ท่านจะเป็นมืออาชีพก็ยังมีอุปสรรคข้อนี้อยู่เสมอ ๆ  การหาจุดร่วม หรือใจความสำคัญ ที่เป็น Keyword ของเนื้อหาทั้งหมดจะช่วยตะล่อมความคิดของท่านให้กลับมาอยู่กับร่องกับรอย  มีพลังพร้อมจะสร้างสรรค์เนื้อหาอีกครั้ง


สรุป


การจะเขียนงานไม่ว่าจะบล็อกหรือบทความให้ลื่นไหลน่าอ่านนั้นมีปัจจัยหลายอย่างดังที่กล่าวมาข้างต้น  เพราะบทความที่น่าอ่านนั้นย่อมแน่นอนกว่า การคำนึงถึงหลักการเขียนคำโฆษณา หรือ Keyword ที่มากจนเกินไป

Ebooks เพื่อนักสร้างบล็อกมืออาชีพ >> สนใจคลิ๊ก

Leave a Comment