การเลือกและติดตั้ง Plugin อย่างเหมาะสมกับบล็อก WordPress

หลังจากตั้งค่าต่าง ๆ ลงธีมที่เหมาะสมแล้ว ต่อไปก็เป็นขั้นตอนของการลง Plugin  WordPress ที่เหมือนการเสริมสมรรถภาพด้านต่าง ๆ ของบล็อกให้สมบูรณ์ขึ้น  การลงปลั๊กอินนั้นก็มีขั้นตอนที่ไม่ยาก  เพียงแต่อาจต้องอาศัยเวลาทดสอบปลั๊กอินที่เหมาะหรือถนัด

ในบทนี้ผมจะมาพูดคุยถึงการลงปลั๊กอิน วิธีเลือก ปัญหาบางประการที่อาจเกิดขึ้น  ซึ่งล้วนแล้วจะต้องเกิดขึ้นกับผู้ใช้บ้าง รวมถึงวิธีแก้ไข  เพื่อให้ขั้นตอนต่าง ๆ ใช้งานได้อย่างไม่ติดขัด

>> คู่มือ สร้างเว็บด้วย wordpress ฉบับสมบูรณ์

วิธีเลือกใช้ Plugin 


Plugin พื้นฐานขั้นเริ่มต้นที่ท่านควรต้องลงก็คือ ปลั๊กอินเกี่ยวกับความปลอดภัย

ผมเองมักจะใช้ 2 ตัวขึ้นไปเพื่อความ safety แต่มักไม่เกิน 3 ตัวเพราะเนื่องจะทำให้เว็บหน่วงได้ ปลั๊กอินที่ใช้ก็เช่น iThemes Security, Limit Login Attempts Reloaded, Akismet Anti-Spam(มีมาพร้อม wordpress)


ปลั๊กอินต่อมาก็คือปลั๊กอินที่จะช่วยทำให้เว็บมีความรวดเร็วมากขึ้นในการแสดงผลอย่างเช่น WP Fastest Cache, WP-Optimize , Jetpack ปลั๊กอินเหล่านี้ช่วยย่อรูป ไฟล์ต่าง ๆ ให้มีขนาดเล็กลง หรือช่วยในเรื่อง cash  ซึ่งโดยรวมแล้วช่วยให้เว็บมีประสิทธิภาพในการแสดงผลได้รวดเร็วขึ้น


ปลั๊กอิน SEO นั้นจำเป็นอย่างยิ่งต่อทุกเว็บไซท์ ท่านสามารถเลือกติดตั้งปลั๊กอิน SEO ดี ๆ ได้ไม่ว่าจะเป็น Yoast SEO, All in One SEO Pack


ปลั๊กอินต่อมาที่จำเป็นก็คือ ปลั๊กอินเกี่ยวกับการติดตามผล  Site Kit เป็นปลั๊กอินที่รวมเอาผลของ Google Analytics และ Google Serch Console มาไว้ในที่เดียวกัน  ซึ่งช่วยให้เราวิเคราะห์ค่าต่างๆและปรับปรุงเว็บได้อย่างสะดวกง่ายดาย  เพียงท่านไปสมัครบริการทั้งสองข้างต้นแล้วปลั๊กอินก็จะเชื่อมต่ออัตโนมัติ  นำผลมาแสดงบน Dashboard ให้ท่านดูอย่างสะดวก

ปลั๊กอินเกี่ยวกับการแชร์ไป Social Networks ต่างๆก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ขาดไม่ได้  พยายามอย่าแสดงไอคอนที่ไม่จำเป็นจนผู้อ่านสับสนได้  ปลั๊กอินที่รบกวนสายตาจนน่ารำคาญก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรหลีกเลี่ยง


ปัญหาที่อาจจะเกิดจาก Plugin 


เป็นธรรมดาที่พอใช้งาน WordPress นานวันก็จะมีปลั๊กอินใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาวันละตัวสองตัว ซึ่งก็ไม่ผิดถ้าปลั๊กอินเหล่านั้นได้ใช้สมรรถนะอย่างเต็มที่  แต่ส่วนใหญ่กลับไม่เป็นอย่างงั้น  ผมก็เป็นคนหนึ่งครับที่หลงใหลกับการลงปลั๊กอินใหม่ ๆ ทันสมัย  แน่ละสิ่งที่ตามมาก็คือ…..

เว็บหน่วง

เรียกว่าช้าก็ได้ครับแต่คำว่าหน่วงมันเห็นภาพกว่าเหมือนมีอะไรฉุดรั้งไว้  อย่างที่พูดไปครับว่าอย่าพยายามลงปลั๊กอินให้มากจนเกินไป  ให้สังเกตบางตัวที่ทำงานซ้ำซ้อน หรือบางตัวที่ลงไว้เท่ๆแทบไม่ได้ใช้งาน  ให้ลบมันออกไปเลยครับอย่าแค่ปิด ลบไปเลย

เว็บค้าง

เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆกับปลั๊กอินจากบริษัทเกิดใหม่ หรือยังไม่ได้อัพเดทให้เข้ากับ wordpress เวอร์ชั่นของคุณ  ดังนั้นให้ Backup ข้อมูลไว้ก่อนทุกครั้งจะทำการติดตั้งปลั๊กอินใด ๆ  ซึ่งถ้าหากเกิดเว็บค้างหรือล่มประการใดก็ยังสามารถ restore ข้อมูลกลับมาได้เหมือนเดิม หรือถ้าแก้ปัญหาไม่ได้จริง ๆ ก็ปรึกษา supporters ของโฮสต์ที่คุณเช่าโดยตรงครับ

ปลั๊กอินหมดอายุ

ปลั๊กอินไม่ได้บูดนะครับ หมดอายุในความหมายของผมก็คือไม่พัฒนาต่อ  ปัญหานี้จะเกิดขึ้นเมื่อเว็บมีอายุหลาย ๆ ปี และการที่ท่านอาจหลงลืมปลั๊กอินที่หยุดการพัฒนาหรือหมดอายุเหล่านี้ก็จะสร้างปัญหาให้ท่าน  ฉะนั้นพยายามตรวจสอบสิ่งเหล่านี้อยู่เสมอ


ข้อดีของการติดตั้ง Plugin 


เว็บที่สร้างจาก wordpress นั้นจะทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพไม่ได้เลยหากขาดการใช้ปลั๊กอินที่ช่วยขับเคลื่อนในด้านต่าง ๆ เพื่อการทำงานได้อย่างทรงพลัง    และระบบปลั๊กอินยังสะดวกในการติดตั้งหรือถอดถอนโดยไม่ทำให้โครงสร้างโค๊ดหลักเสียหาย  อีกทั้งยังมีการเตือนเพื่อการอัพเดทอย่างสม่ำเสมอ  ข้อดีอีกอย่างก็คือการได้ทดสอบปลั๊กอินตัวใหม่ๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บเราอยู่เสมอ


สรุป


กล่าวโดยสรุปก็คือการลงปลั๊กอินสำหรับ WordPress นั้นต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานของเว็บ  โดยต้องคำนึงถึงความพอดีไม่มากจนหน่วงหรือไม่น้อยจนขาดประสิทธิภาพ  เมื่อนั้นเว็บของท่านก็จะสามารถมองหาอันดับสูง ๆ บน SERPs ได้อย่างแน่นอน

Ebooks เพื่อนักสร้างบล็อกมืออาชีพ >> สนใจคลิ๊ก