จะรู้ได้อย่างไรว่าเว็บไซต์ไหนถูกสร้างด้วย WordPress

สำหรับแฟน ๆ หรือผู้ที่รักการสร้าง เว็บไซต์ด้วย WordPress คงต้องชอบบทความที่ผมกำลังนำเสนอในวันนี้อย่างแน่นอนครับ คงมีหลายท่านที่กำลังศึกษาการปรับแต่งหรือสร้างเว็บไซต์ด้วยเวิร์ดเพรสที่อยากจะนำรูปแบบหรือวิธีคิดต่าง ๆ ที่มีมากมายมหาศาลในกูเกิล แต่ก็ไม่รู้ว่าเว็บไซต์ที่ตัวเองกำลังส่องนั้นเป็นเว็บที่สร้างด้วย WordPress รึเปล่า 

ในบทความนี้เราจะมาติดตามดูวิธีการต่าง ๆ เพื่อจะตรวจสอบดูว่าเว็บไซต์ดังกล่าวเป็นเว็บที่สร้างขึ้นด้วย WordPress หรือไม่ 

ตรวจสอบจาก wp-admin

วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่ผู้ที่ใช้ WordPress ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นจนถึงขั้นเซียนที่น่าจะรู้ก็คือวิธีการเข้าไปยังหน้า Admin Panel ที่จะเป็นหน้าสำหรับเว็บมาสเตอร์ที่จะใช้ปรับแต่งเวิร์ดเพรสให้เป็นอย่างที่ใจต้องการ

พิมพ์ ‘wp-admin’ ตรงช่อง URLs ตรงเบราเซอร์

ตัวอย่าง : siteurl/wp-admin


พิมพ์เสร็จแล้วเคาะปุ่ม enter หากว่าเป็นเว็บไซต์ที่สร้างด้วย wordpress เต็มรูปแบบจะแสดงแบบฟอร์มสำหรับให้ใส่ username และ password


ดู View Page Source

วิธีที่เราใช้ตรวจสอบดูว่าเว็บไซต์ไหนถูกสร้างขึ้นด้วย WordPress วิธีต่อมาก็คือการดู Page Sauce วิธีการนี้นั้นเป็นวิธีการที่ละเอียดขึ้นมาอีกขั้น และมักจะใช้กันในวงการ Developer หรือนักพัฒนาเว็บไซต์ ซึ่งนั่นก็คือวิธีดูซอร์สโค้ด 

               WPA

              

โดยให้คลิ๊กขวาที่หน้าเว็บที่ท่านต้องการตรวจสอบ เลื่อนลงมาที่ข้อความ View Page Source จากนั้นกดคลิ๊กเข้าไป

               WPB 

จะเห็นซอร์สโค้ดยึกยือสีแดงน้ำเงินเต็มไปหมด ไม่ต้องตกใจนะครับ เขาเรียกว่าซอร์สโค้ดนั่นเอง หลังจากเข้า มาที่หน้านี้แล้วให้กดปุ่ม ctrl + f 

จะปรากฏแถบ search ขึ้นมาให้พิมพ์คำว่า wordpress ลงไปในช่องว่าง แล้วให้สังเกตแถบสีเขียวที่ขึ้นคำเดียวกันตามภาพ  ซึ่งเป็นคำว่า Word press เหมือนดั่งที่กรอกลงไป

WPC

              

จุดที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ คำว่า WordPress ที่อยู่ในประโยค 

ก็จะทำให้เราได้ทราบว่าเว็บไซต์หรือบล็อกนี้ถูกสร้างจาก WordPress 

<!– This site is optimized with the Yoast SEO Premium plugin v19.5 (Yoast SEO v19.11) – https://yoast.com/wordpress/plugins/seo/ –>

ที่แสดงให้เราเห็นกันนะครับว่าเว็บที่เรากำลังเช็คนั้นใช้ปลั๊กอิน yoast ที่สร้างขึ้นมาเพื่อใช้กับเวิร์ดเพรสโดยเฉพาะ

WPD

                    

มีอีกคำหนึ่งที่ท่านสามารถพิมพ์เข้าไปในช่องเสิร์ชนี้ได้ก็คือคำว่า wp- หลังจากพิมพ์จะมีแถบสีเขียวขึ้นด้านบนสำหรับคำ ๆ นี้ และถ้ามีแถบสีเขียวขึ้นและต่อด้วยคำว่า admin หรือ Content เช่น wp-admin, wp-content ก็จะหมายความว่า website นี้ถูกสร้างขึ้นด้วย wordpress

เช็คจากเว็บไซต์ Online Tool

วิธีต่อมาเป็นวิธีตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือออนไลน์อย่างเช่นเว็บไซต์ Online Tool ต่าง ๆ ซึ่งวิธีนี้นั้นข้อดีอยู่หลายอย่าง เพราะนอกจากท่านจะได้ทราบเว็บที่ Create จาก wordpress แล้วท่านยังได้ความรู้อื่นๆด้วย อย่างเช่นเว็บหรือบล็อกนี้ ใช้ภาษา programming อะไรอื่นอีกบ้าง ใช้ web Hosting provider เจ้าไหน, ใช้ Analysis Tool บริษัทอะไร และอื่น ๆ อีกมากมาย

builtwith.com

buildwith.com เป็นเครื่องมือออนไลน์ที่ดีมากอีกตัวหนึ่งที่ใช้สำหรับตรวจสอบว่าเว็บใดเว็บหนึ่งว่าสร้างด้วยเวิร์ดเพรสหรือไม่  

WPE

                

ขั้นตอนการใช้งานเครื่องมือนี้ก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร แค่ท่านนำชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการตรวจสอบใส่ลงไปในช่องว่างแล้วกดปุ่ม Lookup โปรแกรมก็จะ ทำการประมวลผลแล้วแสดงคำตอบให้กับท่าน ตัวอย่างหากผมใส่ URLs ลงไปดังภาพตัวอย่าง WPE แล้วกดปุ่มLookup ก็จะได้ผลลัพธ์ดังรูป

WPF

                          

เว็บไซต์ที่ถูกสร้างด้วย wordpress ก็จะถูกแสดงไว้ตรงช่อง Content Management System

wpdetector.com

                        WPG    


wpdetector เป็นเครื่องมือตรวจสอบเว็บไซต์สร้างจาก wordpress อีกตัวที่น่าสนใจและใช้งานได้ง่าย  เครื่องมือตัวนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจสอบ Theme และ plugin wordpress และถ้าหากว่าเว็บไซต์ใดก็ตามไม่ได้ถูกสร้างจาก wordpress มันก็จะขึ้นเตือนเป็นแถบสสีแดงดั่งภาพ WPH ด้านล่าง

WPH

                                     


add-on บน browser

วิธีการใช้ส่วนเสริมบนเบราเซอร์อย่าง Chrome Extension ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่างให้เราเช็คเว็บไซต์ที่สร้างด้วย wordpress ได้อย่างสะดวกรวดเร็วด้วยเช่นกัน  Extension ตัวนี้มีชื่อว่า Library Sniffer มีวิธีติดตั้งดังนี้คือให้เข้าไปที่กูเกิลพิมพ์คำว่า Library sniffer คลิ๊กตามลิงค์มาจนถึงหน้าดังรูป WPI แล้วคลิ้ก Add to chrome

                      WPI


เมื่อติดตั้งสำเร็จจะมีไอคอนเป็นรูปแว่นขยายเล็ก ๆ ข้างบนขวามือข้างช่อง search 

และเมื่อท่านต้องการใช้งานก็แค่เพียงใส่ที่อยู่ URL ของเว็บที่ต้องการลงไป  จากภาพ WPJ จะเห็นได้ว่ารูปแว่นขยายได้เปลี่ยนเป็นโลโก้ wordpress หากเว็บไซต์ดังกล่าวถูกสร้างจาก wordpress

WPJ 

                                 

ยังมีวิธีเช็คดูที่ตำแหน่ง Footer อีกวิธีที่สามรถทำให้เราได้รู้ว่าเว็บไหนสร้างด้วย wordpress อย่างไรก็ตามวิธีการบางอย่างอาจใช้ไม่ได้ผลกับบางเว็บ เราก็อาจต้องใช้วิธีการต่าง ๆ เหล่านี้ร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการครับ

หรือถ้าท่านผู้อ่านค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ก็ส่งอีเมลมาเล่าให้ก้นฟังบ้างพอเป็นประสบการณ์ หรือจะทิ้งคอมเมนต์ไว้ข้างใต้ก็ไม่ว่ากันครับ



Photo by Jørgen Håland on Unsplash

Leave a Comment