7 เคล็ดลับเขียน blog ยังไงให้น่าสนใจ น่าอ่าน น่าแชร์

หัวข้อที่ผมจะมานำเสนอท่านผู้อ่านในบทนี้นั้น สามารถประยุกต์ใช้ได้กับ บทความทุกรูปแบบ เพื่อปรับให้บทความมีความสมบูรณ์น่าสนใจยิ่งขึ้น

สำหรับท่านที่ต้องการแนวทางต่างจากเดิมที่ท่านเคยใช้  วิธีด้านล่างนี้ก็คงเป็นประโยชน์บ้าง  อย่างไรก็ตามถ้าท่านใช้วิธีการต่างๆครบทุกข้อที่ผู้เขียนให้มาแล้ว  ก็ให้สังเกตสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งความสมบูรณ์ หรือน่าอ่าน น่าติดตามมากขึ้น

เคล็ดลับ 1  เลือกหัวข้อที่น่าสนใจ

การเลือกหัวข้อที่น่าสนใจนั้นมีความหมายได้หลายทาง ทางหนึ่งคือเลือกหัวข้อจากเทรนด์ที่กำลังได้รับความนิยม หรือเป็นเรื่องใหม่ๆที่ท่านค้นพบและยังไม่ผู้ใดเขียนขึ้นมา  และหัวข้อที่น่าสนใจนั้นจะน่าสนใจเป็นทวีคูณหากได้รับการเขียนไตเติ้ลที่ดี 

เคล็ดลับ 2  ค้นหาข้อมูลรายละเอียดแนวทางการเขียน

เมื่อได้หัวข้อที่น่าสนใจแล้ว ถ้าหากท่านยังไม่มีข้อมูลหรือประสบการณ์ในหัวข้อนั้น ๆ  ก็ให้ทำการ research…

การ research  หรือการหาข้อมูลนั้นอาจจะถือว่าเป็นผู้ปิดทองหลังพระเลยก็ว่าได้  การเขียนทุกแบบต้องการทำ research 

บางท่านอาจเข้าใจผิดคิดว่าทำ research ก็คือการหาข้อมูลข่าวสารในประเด็นนั้นๆเพียงอย่างเดียว  แต่การ researh สามารถหาต้นแบบแนวทางการเขียนใหม่ๆ ประเด็นใหม่ๆที่น่าสนใจ การใช้สไตล์ที่เหมาะสมในงานแต่ละแบบ การใช้ข้อมูลที่มีผู้เขียนอยู่แล้วมาต่อยอด และอีกมากมายที่การทำ research นั้นให้ประโยชน์กับเรา

เคล็ดลับ 3  จดหัวข้อสำคัญและร่างโครงงาน

การทำ research แต่ละครั้งควรที่จะจดบันทึกไว้ ไม่ว่าคุณจะมีความจำที่แม่นยำแค่ไหนก็ตาม  เหตุผลเพราะว่าความจำคุณมีจำกัด และการทำงานที่มีรายละเอียดมากควรจดบันทึกจะดีกว่า

จดบันทึกจนกระทั่งเริ่มเห็นแผนงานเป็นรูปเป็นร่าง  แตกหัวข้อใหญ่เป็นหัวข้อย่อยและเขียนบรรยายเล็กน้อย ขยายออกเป็นโครงงานที่พร้อมจะเขียนได้ในที่สุด

เคล็ดลับ 4  เริ่มเขียนดราฟท์แรก

การร่างโครงเรื่องไว้ก่อนนั้นจะทำให้ขั้นตอนการเขียนดราฟท์นั้นเป็นไปอย่างลื่นไหล หรือสามารถจะกลับมาทบทวนหรือปรับเปลี่ยนโครงเรื่องให้เอื้อต่อเนื้อหาได้อย่างเหมาะสม

เขียนดราฟท์แรกอย่างตั้งใจ หาที่เหมาะ ๆ ที่ปราศจากสิ่งรบกวน  หรือถ้าจำเป็นต้องเปลี่ยนอิริยาบถก็พยายามเขียนให้จบในย่อหน้านั้น ๆ  

เคล็ดลับ 5  พาผู้อ่านเข้าสู่เนื้อหาด้วยท่อนอินโทร

ท่อนอินโทรหรือเกริ่นนำเป็นการเขียนที่ต้องทำให้เกิดคำถามในใจผู้อ่านจนอยากจะค้นหาคำตอบในย่อหน้าถัดไป  ไตเติ้ลที่ดีจะทำให้คนอยากคลิ๊กเข้ามาอ่านเนื้อหา ท่อนเกริ่นนำที่ดีจะพาผู้อ่านเข้าสู่รายละเอียดของเนื้อหา

พาผู้อ่านเข้าสู่รายละเอียดด้วยท่อนอินโทร

ที่อธิบายประเด็นคร่าวๆที่เนื้อเรื่องทั้งหมดนำเสนอ บอกกับผู้อ่านของท่านว่าจะได้ประโยชน์อะไรจากเนื้อหาเหล่านี้

เคล็ดลับ 6  เขียนแบบสนทนา

การใช้บทสนทนาในการเขียน เหมือนผมกำลังคุยกับท่านผู้อ่าน เป็นแนวทางการเขียนบล็อกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 

การใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 ในการเล่าเรื่องย่อมให้ความรู้สึกเป็นกันเอง สบาย ๆ มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งบล็อกซึ่งผู้อ่านกับผู้เขียนไม่มีโอกาสจะได้เห็นหน้ากัน  การใช้การเขียนแบบสนทนายังช่วยในเรื่องเนื้อหาบางเรื่องที่เป็นแนววิชาการ  ซึ่งผู้เขียนอาจใช้การอธิบายอย่างง่ายๆเป็นกันเอง ก็อาจจะทำให้ผู้อ่านเข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายขึ้น

เคล็ดลับ 7  จัดเนื้อหาให้ง่ายต่อการอ่านออนไลน์

เมื่อทุกคนใช้โทรศัพท์หรือ Laptop ในการทำกิจกรรมหลากหลายในชีวิตประจำวัน การอ่าน content จากเว็บต่าง ๆ ก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนรุ่นใหม่ 

การจัดเนื้อหาให้อ่านง่าย สะดวกต่อการจับใจความจะได้รับความนิยม  พยายามใช้ h1, h2, h3 หรือใช้ bullet สำหรับลิสต์รายการต่าง ๆ

เพื่อให้ง่ายต่อการมองและอ่านจับใจความ  ในยุคดิจิตอลนั้น content ที่ได้รับการเผยแพร่แต่ละวันมีเป็นแสน  ดังนั้นการอ่านของคนยุคนี้จึงใช้การอ่านหัวข้อและจับประเด็นเป็นหลัก  ดังนั้นท่านจึงต้องเขียนอธิบายให้ชัดเจนอย่าเยิ่นเย้อพยายามเว้นวรรคเพื่อพักสายตาเป็นระยะ

Blog ฟรียอดนิยม


สรุป

ในการลองฝึกเคล็ดลับที่ผมได้แนะนำไป  แรก ๆ ท่านอาจจะต้องย้อนกลับมาดูบ้างเป็นบางครั้ง  แต่เมื่อผ่านไปสักพัก มันก็จะง่ายขึ้น และเคล็ดลับเหล่านี้ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งใน content ของท่านอย่างเป็นธรรมชาติ

หรือเมื่อไรก็ตามที่ท่านรู้สึกไม่มั่นใจ ในภาพรวมผมก็ขอให้ท่านย้อนกลับไปที่โครงงานหรือโครงเรื่องที่สร้างไว้อีกครั้ง  เช็คดูอินโทร heading ต่างๆ จนมาถึงบทสรุปตรงนี้ว่า ส่วนทั้งหมดมีความชัดเจนต่อเนื่องกัน  และสุดท้ายท่านสามารถจบเรื่องได้อย่างมั่นใจ

Ebooks เพื่อนักสร้างบล็อกมืออาชีพ >> สนใจคลิ๊ก


ภาพโดย Mango Matter

Leave a Comment